การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning บูรณาการวัฒนธรรมวิถีน่าน ด้วยการใช้สื่อวีดิทัศน์ ในรายวิชาสุนทรียศิลป์4 ศ32102 เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยเป็นคู่และหมู่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง            การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning บูรณาการวัฒนธรรมวิถีน่าน  ด้วยการใช้สื่อวีดิทัศน์ ในรายวิชาสุนทรียศิลป์4 ศ32102 เรื่อง การแสดงนาฏศิลป์ไทยเป็นคู่และหมู่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม

ชื่อผู้วิจัย         นงนุช  วงศ์วิเศษ

ปีการศึกษา      2565

                   ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สาระนาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาสุนทรียศิลป์4  รหัส ศ 32102  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565  พบว่าตัวชี้วัดการเรียนวิชานาฏศิลป์ของนักเรียนต้องมีการอธิบายการบูรณาการศิลปะแขนงอื่น ๆ กับการแสดง สร้างสรรค์การแสดงโดยใช้องค์ประกอบนาฏศิลป์และการละคร วิเคราะห์การแสดงของตนเองและผู้อื่นโดยใช้นาฏยศัพท์หรือศัพท์ทางการละครที่เหมาะสม เสนอข้อคิดเห็นในการปรับปรุงการแสดง ระบุหรือแสดงนาฏศิลป์ นาฏศิลป์พื้นบ้าน ละครไทย ละครพื้นบ้านหรือมหรสพอื่นที่เคยนิยมกันในอดีต  จากประเด็นดังกล่าวผู้วิจัยได้หาแนวทางในการพัฒนาทักษะด้านนาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากประชากรกลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3  จำนวน 27   คน โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนาทักษะด้านนาฏศิลป์ จากผลงานการแสดงนาฏศิลป์ไทยเป็นคู่และหมู่ บูรณาการวัฒนธรรมวิถีน่าน  โดยใช้วีดีทัศน์การแสดงชุด รำวงมะเก่า  ผลการศึกษาพบว่าจากการพัฒนาทักษะด้านนาฏศิลป์ไทย โดยใช้โดยใช้วีดีทัศน์การแสดงชุด รำวงมะเก่า  ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย (x̅ ) = 6.68 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.81 ระหว่างเรียน มีค่าเฉลี่ย (x̅ ) = 24.78 การหาประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมระหว่างเรียน E1 = 82.63 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย (x̅ ) = 8.42 การหาประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมหลังเรียน E2 = 84.21  จึงกล่าวได้ว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน เปรียบเทียบได้จากการหาค่าเฉลี่ยก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย (x̅ ) = 6.86 และค่าเฉลี่ยหลังเรียน มีค่าเฉลี่ย (x̅ ) = 8.42 ซึ่งค่าเฉลี่ยหลังเรียนนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนประสิทธิภาพ     การจัดกิจกรรมการคิดสร้างสรรค์ผลงานการแสดงนาฏศิลป์ไทยบูรณาการวัฒนธรรมวิถีน่าน โดยใช้ดีทัศน์การแสดงชุด รำวงมะเก่า  มีประสิทธิภาพ 82.63/84.21 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้

Related posts